1. จัดประชุมผู้ถือหุ้นด้วยมติคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน และเมื่อมติลงความเห็นให้ปิดกิจการจึงดำเนินการจัดทำคำขอจดขอยกเลิกกิจการ
2. แจ้งจดเลิกบริษัทจำกัด โดยยื่นเอกสารที่ต้องใช้ในการจดเลิกบริษัท
3. จัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกบริษัทและส่งให้ผู้ตรวจสอบบัญชีตรวจสอบ เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีเห็นว่าถูกต้องไม่มีข้อบกพร่องให้จัดตั้งผู้ชำระบัญชี เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระเงินค่าหุ้น ขายทรัพย์สิน เรียกลูกหนี้ให้ชำระหนี้ ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการบริษัทได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนผู้ถือหุ้น
4. หากการตรวจสอบบัญชีไม่ผ่าน ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชี (แบบ ลช. 3) ยื่นต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน และในกรณีชำระบัญชีไม่เสร็จเกินกว่า 1 ปี ผู้ชำระบัญชีต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเมื่อครบปีทุกปี เพื่อรายงานความเป็นไปของการชำระบัญชี
5. เมื่อชำระบัญชีดำเนินการชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว ต้องจัดประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรายงานผลการชำระบัญชี แล้วจึงจดเสร็จการชำระบัญชีต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติเสร็จการชำระบัญชี
6. ดำเนินการขอแจ้งเลิกประกอบกิจการในทางภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางกรมสรรพากร ณ พื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ (ผู้ประกอบการต้องแจ้งเลิกประกอบกิจการภายใน 15 วัน นับจากวันที่เลิกประกอบกิจการ)
เมื่อตกลงที่จะปิดกิจการแล้ว สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การเคลียร์ภาระต่าง ๆ เช่น ตรวจสอบว่าเรายังมีลูกหนี้การค้าหรือหนี้สินอื่นๆ หรือไม่ เมื่อเคลียร์เรียบร้อยแล้ว จึงดำเนินการจดเลิกและชำระบัญชี และต้องเช็คด้วยว่าบริษัทได้จดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หากเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะมีขั้นตอนในการแจ้งเลิกภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย ตามขั้นตอนดังนี้